ด้านร่างกาย

  • จัดกิจกรรมกระตุ้นฝึกการทรงตัว การปีน การออกกำลังกาย การวิ่ง การกระโดด การเต้นตามจังหวะเพลง การเตะสลับขา การเล่นวิ่งผลัด วิ่งแข่ง การเดินทรงตัวบนไม้กระดาน
  • กระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (แขน ขา)
  • เน้นความเพลิดเพลิน
  • พัฒนาประสาทการรับรู้และการเคลื่อนไหวให้มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น
  • กระตุ้นการทำงานของสมองในส่วน cerebellum (ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย และพัฒนาการทำงานประสานกันของสมองซีกซ้ายและขวา)
  • จัดกิจกรรมกระตุ้นผ่านสื่อทางการศึกษา การต่อเลโก้ การระบายสี การต่อ jigsaw ไม้ 6 ชิ้นขึ้นไป การต่อ-หยอดบล็อคไม้รูปทรงต่าง ๆ การเรียนรู้เรื่องสี การปั้นแป้งโดว์ การฝึกวาดภาพตามจินตนาการ การประดิษฐ์งานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ
  • กระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก (มือและนิ้ว)
  • พัฒนาการทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
  • ส่งเสริมการสร้างจินตนาการ
  • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

ด้านอารมณ์และสังคม

  • จัดกิจกรรมกระตุ้นการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นโดยผ่านบทบาทสมมุติ
  • จัดกิจกรรมกระตุ้นการพูดและการแสดงออก เมื่อมีความรู้สึกและอารมณ์แตกต่างกันในรูปแบบการเล่านิทาน
  • จัดกิจกรรมกระตุ้นการรู้จักแข่งขัน การรู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย โดยผ่านการแข่งขัน
  • พัฒนาทักษะการมีพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานการมีความฉลาดทางอารมณ์สูงในอนาคต
  • การเล่นจะช่วยให้เด็กเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น
  • รู้จักการควบคุมและจัดการอารมณ์ของตนเอง (Self regulation)
  • เด็กสามารถเรียนรู้และปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคมได้
  • มีพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ
  • เด็กรู้จักเพศของตนเอง เรียนรู้และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
  • เด็กสามารถลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric)

ด้านสติปัญญาและภาษา

ด้านสติปัญญา

  • กระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญา โดยผ่านกิจกรรมการฝึกเรียนรู้รูปแบบ (Pattern) และสัญลักษณ์กิจกรรม แบ่งแยกประเภทของสิ่งของจากสื่อการศึกษาที่เสมือนของจริง กิจกรรมและเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องราว กิจกรรมฝึกอ่าน เขียน และคำนวณตามความเหมาะสมตามวัยของเด็ก
  • เด็กพัฒนาด้านความคิดเชิงสัญลักษณ์
  • เด็กแยกประเภทสิ่งของได้
  • เด็กพัฒนาการด้านความจำ
  • เด็กสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ได้
  • เด็กสามารถอ่านหนังสือออก
  • เด็กสามารถเขียนหนังสือได้
  • เด็กสามารถคิดคำนวณเลขได้

ด้านภาษา

  • พัฒนาความสามารถทางภาษาโดยเน้นคำศัพท์ใหม่ ๆ จากสถานการณ์จริงและสถานการณ์จำลอง
  • ฝึกการสื่อสารด้วยกิจกรรมที่สนุกสร้างสรรค์
  • เด็กรู้จักใช้คำศัพท์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  • เด็กเรียนรู้การส่ง การรับสารได้อย่างเหมาะสม
  • เด็กใช้การสื่อสารด้วยภาษาประสานกับฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสายตาประกอบกัน